“การพลิกโฉมคุณภาพการศึกษาจ.สระแก้วสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 13.00 น. นายสุรินทร์ แสงทอง ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฎิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระเเก้ว เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การพลิกโฉมคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้วสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”.

ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสรแก้ว ร่วมกับสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาและมูลนิเพื่อทักษะแห่งอนาคด จัดการประชุมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การพลิกโฉมคุณภาพการศึกษาจังหวัดสระแก้ว สู่การพัฒนาที่ยังยืน” (สระแก้วโมเดล พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว) เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับระบบนิเวศในการยกระตับคุณภาพพื้นที่การศึกษา เพื่อประเมินต้นแบบระบบนิเวศ การยกระดับคุณภาพพื้นที่การศึกษาหลักสูตร เครื่องมือและกระบวนการพัฒนาผู้นำความเปลี่ยนแปลงต้านกระบวนการเรียนรู้ และการออกแบบระบบนิเวศคุณภาพในการเรียนรู้ โดยร่วมมือกับองค์กรนานาชาติ CCE (Creative and Culture Education) และมีการดำเนินการ ขับเคลื่อนใน 4 ภูมิภาคของประเทศไทย ซึ่งจังหวัดสระแก้ว จะได้รับการพัฒนาให้เป็นต้นแบบของภาคตะวันออก โดยเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้ว สำหรับผู้บริหารระดับสูงในจังหวัดสระแก้วและองค์กรภายนอก ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้บริหารระดับสูง สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสระแก้ว ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษานำร่อง ในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดสระแก้ว ตามมาตรา 27 ในพระราชปัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562 เข้าร่วมประชุมแบบ On Site ทั้งหมด 63 คน รวมทั้งผู้บริหารสถานศึกษานำร่อง ศึกษานิเทศก์ กรรมการสถานศึกษาชั้นพื้นฐาน ครูในสถานศึกษานำร่องของพื้นที่่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสระแก้วเข้าร่วมประชุมแบบ On Line จำนวน 2,681 คน ผ่านระบบ Facebook Live ของสวท.สระแก้ว 103.25 MHz.

สืบเนื่องจาก ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มเติม 11 จังหวัด (ประกอบด้วย สุโขทัย แม่ฮ่องสอน กระบี่ ตราด สระแก้วกรุงเทพมหานคร จันทบุรี ภูเก็ต สงขลา สุราษฎร์ธานี อุบลราชธานี ) และเมื่อรวมกับพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาที่มีการจัดตั้งแล้ว 8 จังหวัด (ศรีสะเกษ เชียงใหม่ ระยอง กาญจนบุรี นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสตูล) ส่งผลให้ปัจจุบันมีพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา รวมทั้งสิ้น 19 จังหวัด.

จังหวัดสระแก้ว เป็นพื้นที่ติดชายแดน ขาดการบูรณาการในด้านการศึกษา เด็กส่วนใหญ่ยากจนและด้อยโอกาส เด็กและเยาวชนของจังหวัดมีผลการทดสอบทางการศึกษาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่ำกว่าระดับประเทศอย่างต่อเนื่อง จึงต้องส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกและสร้างความร่วมมือด้านการศึกษา รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา พัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านวิชาการ ทักษะชีวิต และทักษะอาชีพ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในพื้นที่.

ทั้งนี้ พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ พื้นที่การปฏิรูปการบริหารและการจัดการการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษาซึ่งเป็นพื้นที่ระดับจังหวัดที่สถานศึกษานำร่องสามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ โดยสามารถมีการบริหารจัดการที่ยืดหยุ่นคล่องตัว ไม่ต้องอิงกับกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นหรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง มีกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม.

ติดต่อ อบจ.สระแก้ว